เปิดโลกมหัศจรรย์ในคุชราฎ และ โอดิสสา(ตอน7)

ซอกซอนตะลอนไป                           (17 พฤศจิกายน 2562)

เปิดโลกมหัศจรรย์ในคุชราฎ และ โอดิสสา(ตอน7)

โดย   เสรษฐวิทย์  ชีรวินิจ

               ละลิตคีรี(LALITGIRI)  เป็นอารามเก่าแก่ทางศาสนาพุทธที่มีสำคัญทางประวัติศาสตร์เป็นอย่างมากของรัฐโอดิสสา  เป็นหนึ่งในสามของอารามทางพุทธศาสนา  อันประกอบด้วย  รัตนะคีรี(RATNAGIRI)  และ  อุดัยคีรี(UDAYAGIRI)  ทั้งสามอาราม หรือ วิหาร วางตัวเป็นรูปสามเหลี่ยมที่สามารถเดินทางถึงกันได้   เพราะอยู่ไม่ไกลกันนัก  เรียกขานกันในเวลาต่อมาว่า

               สามเหลี่ยมเพชร (DIAMOND TRIANGLE)


(สามเหลี่ยมเพชร อันประกอบด้วย ละลิตคีรี(วงกลมสีเหลือง) รัตนะคีรี (วงกลมสีเขียว)  และ อุทัยคีรี(วงกลมสีน้ำเงิน) ตั้งอยู่ไม่ห่างกัน – ภาพจากวิกิพีเดีย)

               ในบริเวณใกล้เคียงกัน  มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่านเข้ามา แล้วไหลต่อไปลงทะเลที่อ่าวเบงกอล  อาทิเช่น   แม่น้ำมหานที(MAHANATEE RIVER)   แม่น้ำพราหมณี (BRAHMANI RIVER) ฯ  ซึ่งแม่น้ำเหล่านี้  น่าจะมีสายน้ำที่สามารถเชื่อมต่อไปยังรัฐพิหาร  โดยเฉพาะที่เมืองปัตนะ  หรือ  ปาตะลีบุตร ในอดีตได้  

               ดังนั้น  เมื่อพิจารณาจากเส้นทางเดินทางจากเมืองปาตะลีบุตร หรือ เมืองปัตนะ ในปัจจุบัน  หรือจากเมืองพุทธคยา  มายัง อารามสามเหลี่ยมเพชร  ระยะทางก็ไม่ไกลนักเพียงแค่ไม่ถึง 700 กิโลเมตร สามารถเดินทางได้ทั้งทางบก และ ทางแม่น้ำ  และ สามารถออกสู่ทะเลที่อ่าวเบงกอลได้เลย 

               และจากท่าเรือที่นี่เอง  ที่ได้นำพาเอานักเดินทางจำนวนมากจากอินเดีย  เดินทางมาสู่สุวรรณภูมิ  มาลากา  และ หมู่เกาะอินโดนีเซีย  ทั้งเพื่อการค้าขาย และ เผยแพร่ศาสนา  

               สถานปฎิบัติธรรม ทั้งสามแห่งที่ว่า  มีความสำคัญอย่างมากในสมัยโน้น   เพราะน่าจะมีพระสงฆ์มาปฎิบัติธรรม และ จำพรรษาอยู่ที่นี่จำนวนมากมายทีเดียว  อาจไม่น้อยกว่าที่ นาลันทา (NALANDA) ที่อยู่ในรัฐพิหารด้วยซ้ำ  


(พระถังซัมจั๋ง)

               จากบันทึกของ พระถังซัมจั๋ง(XUAN ZANG) จากประเทศจีน ซึ่งเดินทางมาอัญเชิญพระไตรปิฎกที่ประเทศอินเดียเมื่อปีค.ศ. 629 หรือ เมื่อประมาณ 1400 ปีที่แล้ว  ระบุว่า   ท่านเคยเดินทางมายัง บุชปาคีรี วิหาร (PUSHPAGIRI VIHARA) ซึ่งมีทำเลตั้งอยู่ใกล้ๆกับสามเหลี่ยมเพชรที่ว่านี้ด้วย  

               หลังจากศึกษาธรรมอยู่ที่นี่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง    ท่านก็เดินทางกลับขึ้นไปยังรัฐพิหาร  และเดินทางกลับประเทศจีนโดยทางบก 

               นักโบราณคดีได้พยายามขุดค้นหาเมือง บุชปาคีรี วิหาร ในปีพ.ศ. 2528  แต่สิ่งที่ค้นพบค่อนข้างจะสูญหายไปมาก  และอาจจะยังไม่ได้รับการบูรณะเท่ากับที่ละลิตคีรี และ รัตนะคีรี จึงยังไม่มีอะไรที่พอจะให้ชมได้อย่างเป็นเรื่องเป็นราว  

               ถ้าพิจารณาจากหลักฐานที่ว่า  พระถังซัมจั๋ง ก็เคยเดินทางมาที่นี่  ก็แสดงว่า  ทั้งสามอารามที่ว่ามานี้  จะต้องมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดเมื่อ 1400 ปีที่แล้วแน่นอน

               ยิ่งไปกว่านั้น  ในเขตของอาราม ละลิตคีรี   นอกจากจะมีสิ่งก่อสร้าง หลายต่อหลายแห่ง สร้างด้วยอิฐ กระจายตัวกันในพื้นที่ที่กว้างขวางพอสมควรแล้ว   และเมื่อเดินขึ้นไปตามเนินก็จะมาถึง  มหาสถูปของละลิตคีรี(MAHASTUPA)  ที่ก่อด้วยอิฐมอญเช่นกัน


(มหาสถูปแห่ง ละลิตคีรี สถานที่ประดิษฐานของพระเขี้ยวแก้ว และ พระบรมธาตุของพระพุทธเจ้า)

               แม้ภายนอก  มหาสถูปองค์นี้จะดูเรียบง่าย  ไร้ซึ่งการตกแต่งประดับประดาใดๆ  ซึ่งไม่แน่ใจนักว่า  เป็นแบบนี้มาตั้งแต่ต้นเลยหรือไม่  เพราะมหาสถูปดังกล่าวผ่านการบูรณะมาแล้ว  แต่สิ่งที่ทำให้มหาสถูปแห่งนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดก็คือ  เคยเป็นที่ประดิษฐานของพระเขี้ยวแก้ว 2 องค์  และ พระบรมธาตุส่วนท้ายทอยของพระพุทธเจ้า

               ตามคำบอกเล่าของไกด์ท้องถิ่นระบุว่า


(พิพิทภัณฑ์แห่งละลิตคีรี)

               พระเขี้ยวแก้วที่อยู่เมืองแคนดี้ ประเทศศรีลังกานั้น  ก็ถูกอัญเชิญไปจากที่ละลิตคีรี นั่นเอง  จนทำให้ปัจจุบันนี้  มีพระเขี้ยวแก้วเหลืออยู่เพียงองค์เดียว กับ พระบรมธาตุ ซึ่งประดิษฐานอยู่ในโถขนาดใหญ่ที่ทำด้วยหินทราย    

               ปัจจุบัน   ถูกอัญเชิญไปประดิษฐานอยู่ในห้องจัดแสดงในพิพิทภัณฑ์ภายในเขตละลิตคีรี เพื่อความปลอดภัยเรียบร้อยแล้ว 

               สำหรับท่านที่สนใจจะร่วมเดินทางไปนมัสการ พระเขี้ยวแก้ว และ พระบรมธาตุ กับ ผม  และ ไวท์ เอเลแฟนท์ ทราเวล  ระหว่างวันที่ 7 – 13 กุมภาพันธ์ 2563  สามารถสอบถาม และสำรองที่นั่งได้ที่ 02 651 6900 หรือ  088 578 6666 หรือ LINE ID 14092498

               ส่วนท่านที่สนใจจะเดินทางเจาะลึกอียิปต์ แบบสบายๆ  10 วัน 7 คืน  พักในเรือสำราญล่องแม่น้ำไนล์ในระดับ 5 ดาวดีลักซ์ 3 คืน พักโรงแรม STEINGENBERGER CAIRO  4 คืน  เที่ยวแบบสบายๆ  ไม่เหนื่อย  อาหารคัดสรรอย่างดี ระหว่างวันที่ 20 – 29 กุมภาพันธ์ 2563  ก็สามารถติดต่อได้เช่นกัน

Posted in ซอกซอนตะลอนไป โดย เสรษฐวิทย์ ชีรวินิจ and tagged , , , .